Header

ไวรัสตับอักเสบซี

โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดซี

          สามารถติดต่อกันทางเลือดหรือเพศสัมพันธ์คล้ายกับ ไวรัสตับอักเสบบี แต่ไม่สามารถติดต่อกันได้ทางการให้นมบุตร การจามหรือไอรดกัน การรับประทาน อาหารหรือดื่มน้ําด้วยกัน และการใช้ถ้วยชามร่วมกัน "เชื้อไวรัสตับอักเสบ ซีเมื่อเข้าไปในร่างกายจะแบ่งตัวและอาศัยอยู่ในตับ ระยะแรกทําให้เกิดตับ" เชื้อไม่ทราบว่ามีตับอักเสบ โดยประมาณเกือบ 8% อักเสบเฉียบพลัน ซึ่งมักจะมีอาการไม่มาก ทําให้ผู้รับของผู้ที่ได้รับเชื้อจะมีการติดเชื้อเรื้อรังและตามมาด้วยตับอักเสบแบบเรื้อรังแบบค่อยเป็นค่อยไปไม่ค่อยมีอาการชัดเจน ผ่านไปประมาณ 10-30 ปีจึงเข้าสู่ระยะตับแข็ง และอีกสิบปีต่อมาจึงถึงระยะท้ายของโรคตับแข็ง เมื่อมีโรคตับแข็งเกิดขึ้นจะมี โอกาสเกิดมะเร็งตับได้ประมาณ 1-3% ต่อปี (ใน 100 คนที่เป็นโรคตับแข็งจากไวรัสซี ถ้าติดตาม ไป 1 ปีจะมี 3 คนเป็นมะเร็งตับ)

การแพร่เชื้อ

          เชื้อไวรัสตับอักเสบซีสามารถแพร่เชื้อผ่านทางเลือด ส่วนใหญ่มักจะแพร่เชื้อเชื้อผ่าน: การใช้ยาเสพติดชนิดฉีดผ่านการใช้อุปกรณ์การฉีดร่วมกัน  สถานที่ให้บริการด้านสุขภาพซึ่งมีการนำเอาอุปกรณ์การแพทย์เช่นกระบอกฉีดยาหรือเข็มฉีดยามาใช้ซ้ำหรือมีการฆ่าเชื้อที่ไม่สะอาดพอ   รับเลือดและผลิตภัณฑ์เลือดที่ติดเชื้อ เชื้อนี้สามารถแพร่เชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้หรือสามารถผ่านจากมารดาที่ติดเชื้อไปสู่ทารกแต่รูปแบบการแพร่เชื้อในลักษณะเหล่านี้เกิดขึ้นได้น้อย

อาการแสดงของโรค

          ระยะฟักตัวของเชื้อไวรัสตับอักเสบซีนั้นอยู่ที่ระหว่าง 2 สัปดาห์ถึง 6 เดือน หลังจากเริ่มมีการติดเชื้อซึ่งคนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80) มักไม่แสดงอาการใดๆ หากมีอาการแสดงอาจมีอาการดังนี้: มีไข้,อ่อนเพลีย, เบื่ออาหาร, คลื่นไส้,ปวดท้อง, อาเจียน, ปัสสาวะมีสีเข้ม,อุจจาระสีซีด, ปวดตามข้อ, ตัว-ตาเหลือง

การป้องกัน

           การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีแบบเฉียบพลันนั้นโดยมากไม่แสดงอาการ ดังนั้นคนส่วนใหญ่จึงไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อแล้ว ถึงแม้ผู้ที่ติดเชื้อไม่มีอาการแสดงใดๆเลยก็ตามแต่ผู้ที่ติดเชื้อยังคงสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ยังไม่มีวัซีนสำหรับป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี นี่คือเหตุผลของการป้องกันโดยการเน้นไปที่การลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อในสถานที่ให้บริการด้านสุขภาพ ในกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูงและการติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์

การรักษา

          ประมาณร้อยละ 15 ถึงร้อยละ 25 ของผู้ที่ติดเชื้อแบบเฉียบพลันสามารถขจัดการติดเชื้อนี้ออกจากร่างกายได้ การติดเชื้อเฉียบพลันและการติดเชื้อเรื้อรังนั้นสามารถรักษาได้โดยใช้ยาชนิดเดียวกันการรักษาที่เคยเป็นแบบมาตรฐานคือการใช้ยาหลายชนิดร่วมกันซึ่งรวมถึงอินเตอร์เฟอร์รอนซึ่งเป็นยาชนิดฉีดโดย ให้ยาเป็นระยะเวลา 6 – 12 เดือน ซึ่งการรักษานี้ผู้ป่วยมักไม่สามารถทนต่อยาได้ดีนักและผู้ป่วยส่วนใหญ่มักรักษาไม่หาย สำหรับการรักษาแบบใหม่ที่ใช้เฉพาะยาชนิดรับประทานนั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าและผู้ป่วยสามารถทนต่อยาได้ดีกว่าซึ่งสามารถรักษาการติดเชื้อให้หายขาดได้ใน 3 – 6 เดือนแต่ยามีราคาแพงซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถจ่ายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีข้อจำกัดด้านทรัพยากร



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์