Header

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

ศูนย์สุขภาพโรงพยาบาลพิษณุเวช อุตรดิตถ์

ให้บริการทั้งรายบุคคล และบุคลากรขององค์กรต่างๆ เพื่อสุขภาพที่ดีทุกช่วงวัยพร้อมด้วยอุปกรณ์ทางห้องปฏิบัติการและเครื่องมือเพื่อการตรวจวินิจฉัยที่ครบครัน การตรวจสุขภาพประจำปีที่เป็นการตรวจคัดกรองโรคและปัญหาสุขภาพต่างๆ ที่ซ่อนอยู่โดยไม่ปรากฏ โดยมีโปรแกรมการตรวจสุขภาพหลากหลายที่เหมาะสำหรับบุคลากรทุกกลุ่ม พร้อมให้บริการโดยทีมวิชาชีพและแพทย์เฉพาะทางด้านชีวอนามัย

ศูนย์สุขภาพโรงพยาบาลพิษณุเวช อุตรดิตถ์

มีแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญในวิชาอาชีวเวชศาสตร์ “แพทย์อาชีวเวชศาสตร์” (Occupational physician) ซึ่งจะนำเอาดัชนีชี้วัดทางสุขภาพทุกด้านมาประมวลหาความแข็งแรงสมบูรณ์ที่แท้จริง แล้ววางแผนปรับปรุง ส่งเสริมสุขภาพเฉพาะบุคคลในส่วนที่ยังบกพร่อง เช่นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต การจัดสมดุลของโภชนาการ และการออกกำลังกาย

  • บริการตรวจสุขภาพโปรแกรมรักษ์ชีวิต 
  • บริการตรวจร่างกายเพื่อไปทำงานต่างประเทศ 
  • บริการตรวจร่างกายเข้าทำงานของพนักงานใหม่ก่อนเข้าทำงาน บริษัท องค์กรต่างๆ
  • บริการตรวจสุขภาพประจำปีบริษัท องค์กรต่างๆ
  • บริการตรวจสุขภาพเพื่อทำประกัน 
  • บริการตรวจสุขภาพพิเศษต่างๆ 
  • บริการตรวจประเมินความพร้อมในการทำงาน (Fitness for work)
  • บริการตรวจประเมินความพร้อมในกลับไปการทำงาน (Return to Work)
  • บริการตรวจสุขภาพนักเรียนแลกเปลี่ยน , ศึกษา และ ทำงานต่างประเทศ
  • บริการตรวจสุขภาพ , ฉีดวัคซีน นอกสถานที่ ( Mobile Check up )
  • บริการตรวจสุขภาพด้านอาชีวอนามัย
  • บริการทำหัตถการเฉพาะทางด้านอาชีวอนามัย
  • บริการตรวจองค์ประกอบของร่างกาย (INBODY)
  • บริการตรวจประเมินความพร้อมในเดินทางไปต่างประเทศ (Fit to Fly)

สถานที่

อาคาร 1 ชั้น 1

เวลาทำการ

08:00 - 17:00 น.

เบอร์ติดต่อ

055-40-9000

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

นพ.ชารินทร์ บรรหารมณีรัตน์

แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

นพ.เศษฐวิชช์ ศิริวัฒน์

แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง

การตรวจวิเคราะห์อุจจาระ

การตรวจอุจจาระ (Stool examination หรือ Stool test หรือ Stool analysis) คือ การตรวจสุขภาพพื้นฐานการตรวจหนึ่ง เพื่อช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยความผิดปกติ หรือโรคในระบบทางเดินอาหาร, หรือหาสาเหตุภาวะ/โรคซีด  โดยเป็นการตรวจลักษณะอุจจาระด้วยตาเปล่า ร่วมกับการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

การตรวจวิเคราะห์อุจจาระ

การตรวจอุจจาระ (Stool examination หรือ Stool test หรือ Stool analysis) คือ การตรวจสุขภาพพื้นฐานการตรวจหนึ่ง เพื่อช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยความผิดปกติ หรือโรคในระบบทางเดินอาหาร, หรือหาสาเหตุภาวะ/โรคซีด  โดยเป็นการตรวจลักษณะอุจจาระด้วยตาเปล่า ร่วมกับการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจหรือที่เรียกว่า EKG เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อหัวใจโดยจะมีรูปแบบของคลื่นไฟฟ้าอัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจอาจเปลี่ยนแปลงไปตามความผิดปกติของหัวใจ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจถือว่าเป็นการตรวจ ที่ง่ายและสะดวก ผู้รับการตรวจจะไม่เจ็บ จากการตรวจ การตรวจทําได้โดยการวัดคลื่นไฟฟ้าของหัวใจ ผ่านทางสื่อนําคลื่นไฟฟ้าขนาดเล็กที่วางไว้ตามจุด ต่างๆของร่างกาย ได้แก่บริเวณหน้าอก แขน และขา แล้วบันทึกกราฟแสดงคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้นลงบน กระดาษ ขั้นตอนการตรวจนี้ใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที แต่บางทีเราอาจจะไม่พบสิ่งผิดปกติในคลื่นไฟฟ้า หัวใจของผู้ที่มีปัญหาโรคหัวใจบางชนิดได้ในการ ตรวจตามธรรมดา เนื่องจากถ้าหัวใจ ไม่ได้ทํางาน หนักขึ้นการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจ จะยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งอาจต้องใช้การทดสอบสมรรถภาพ หัวใจด้วยการออกกําลังกายต่อไป

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจหรือที่เรียกว่า EKG เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อหัวใจโดยจะมีรูปแบบของคลื่นไฟฟ้าอัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจอาจเปลี่ยนแปลงไปตามความผิดปกติของหัวใจ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจถือว่าเป็นการตรวจ ที่ง่ายและสะดวก ผู้รับการตรวจจะไม่เจ็บ จากการตรวจ การตรวจทําได้โดยการวัดคลื่นไฟฟ้าของหัวใจ ผ่านทางสื่อนําคลื่นไฟฟ้าขนาดเล็กที่วางไว้ตามจุด ต่างๆของร่างกาย ได้แก่บริเวณหน้าอก แขน และขา แล้วบันทึกกราฟแสดงคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้นลงบน กระดาษ ขั้นตอนการตรวจนี้ใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที แต่บางทีเราอาจจะไม่พบสิ่งผิดปกติในคลื่นไฟฟ้า หัวใจของผู้ที่มีปัญหาโรคหัวใจบางชนิดได้ในการ ตรวจตามธรรมดา เนื่องจากถ้าหัวใจ ไม่ได้ทํางาน หนักขึ้นการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจ จะยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งอาจต้องใช้การทดสอบสมรรถภาพ หัวใจด้วยการออกกําลังกายต่อไป

โรคเอดส์แตกต่างจากเชื้อเอชไอวีอย่างไร?

โรคเอดส์ คือ ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี โดยโรคเอดส์จะเกิดขึ้นหลังจากที่ร่างกายได้รับเชื้อเอชไอวีโดยเฉลี่ยเป็นเวลา 8-10 ปี ทำให้ภูมิคุ้มกันเม็ดเลือดขาวในร่างกายลดลง จนในที่สุดร่างกายไม่มีภูมิคุ้มกันเพียงพอในการป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคภายนอก ทำให้เกิดโรคติดเชื้ออื่น ๆ แทรกซ้อน เช่น วัณโรค ปอดบวม เชื้อราขึ้นสมอง เป็นต้น 

โรคเอดส์แตกต่างจากเชื้อเอชไอวีอย่างไร?

โรคเอดส์ คือ ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี โดยโรคเอดส์จะเกิดขึ้นหลังจากที่ร่างกายได้รับเชื้อเอชไอวีโดยเฉลี่ยเป็นเวลา 8-10 ปี ทำให้ภูมิคุ้มกันเม็ดเลือดขาวในร่างกายลดลง จนในที่สุดร่างกายไม่มีภูมิคุ้มกันเพียงพอในการป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคภายนอก ทำให้เกิดโรคติดเชื้ออื่น ๆ แทรกซ้อน เช่น วัณโรค ปอดบวม เชื้อราขึ้นสมอง เป็นต้น